วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

เฉลแบบฝึกหัดหลักสัมพันธ์ไทย ๔



แบบฝึกหัดวิชาสัมพันธ์ไทย ๔

จงแปลและสัมพันธ์ประโยคต่อไปนี้

๑. ติเลสุ เตลํ อตฺถิ. (ในที่ซึมซาบ)
 ป. อ.น้ำมัน มีอยู่ใน งา ท.  ฯ
ส. เตลํ สยกตฺตา ใน อตฺถิ ๆ อาขยาตบท กตฺตุวาจก ติเลสุ พฺยาปิกาธาร ใน อตฺถิ​ฯ

๒. สามเณโร วิหาเร วสติ.  (ในที่อยู่)
ป. อ.สามเณร ย่อมอยู่ ในวิหาร ฯ
ส. สามเณโร สยกตฺตา ใน วสติ ๆ อาขยาตบท กตฺตุวาจก วิหาเร วิสยาธาร ใน วสติ ฯ 

๓. มหาจุฬาลงฺกรณราชวิทฺยาลโย เทวนิมิตฺตาราเม ติฏฺฐติ. (ใกล้)
     ป. อ. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งอยู่ใกล้วัดเทพนิมิตร.
      ส. มหาจุฬาลงฺกรณราชวิทฺยาลโย สยกตฺตา ใน ติฏฺฐติ ๆ อาขยาตบท กตฺตุวาจก เทวนิมิตฺตาราเม สมีปาธาร ใน ติฏฺฐติ ฯ

๔. อชฺช จตุตฺโถ ทิวโส (โหติ). (กาลสัตตมีเป็นประธาน)
      อ. วันนี้ เป็นวันที่ ๔ ย่อมเป็น​ฯ
      อชฺช สตฺตมีปจฺจตฺตสยกตฺตา ใน โหติๆ อาขยาตบท กตฺตุวาจก จตุตฺโถ วิเสสน ของ ทิวโส ๆ วิกติกตฺตา ใน โหติ ฯ

๕. ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ  (โหติ)​.
      ป. อ. _ในมนุษย์ ท. หนา _บุคคลผู้ฝึกดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ ย่อมเป็น ฯ
      ส. ปุคฺคโล สยกตฺตา ใน โหติ ๆ อาขยาตบท กตฺตุวาจก ทนฺโต วิเสสน ของ ปุคฺคโล มนุสฺเสสุ นิทฺธารณ ใน เสฏฺโฐ ๆ นิทฺธารณีย และ วิกติกตฺตา ใน โหติ

๖. ตทา พหู ภิกฺขู สาวตฺถิยํ วิหรนฺติ​. (กาลสัตตมี)
     ป. ในกาลนั้น อ. ภิกษุ ท. มาก ย่อมอยู่ ในเมืองสาวัตถี​ ฯ
     ส. ภิกฺขู สยกตฺตา ใน วิหรนฺติ ๆ อาขยาตบท กตฺตุวาจก ตทา กาลสตฺตมี ใน วิหรนฺติ พหู วิเสสน ของ ภิกฺขู สาวตฺถิยํ วิสยาธาร ใน วิหรนฺติ

๗. สุริเย อฏฺฐงฺคเต, จนฺโท อุคฺคจฺฉติ. (ประโยคแทรก)
      ป. ครั้นเมื่อ พระอาทิตย์ ตกแล้ว, อ.พระจันทร์ ย่อมขึ้นไป.
      ส. สุริเย ลกฺขณ ใน อฏฺฐงฺคเต ๆ ลกฺขณกิริยา, จนฺโท สยกตฺตา ใน อุคฺคจฺฉติ ๆ อาขยาตบท กตฺตุวาจก​ฯ

๘. ภิกฺขู ปญฺญตฺเต อาสเน นิสีทึสุ. (เหนือ, บน)
      ป. อ. ภิกษุ ท. นั่งแล้ว บนอาสนะ อันบุคคลปูลาดไว้แล้ว ฯ
      ส. ภิกฺขู สยกตฺตา ใน นิสีทึสุ ๆ อาขยาตบท กตฺตุวาจก ปญฺญตฺเต วิเสสน ของ อาสเน ๆ อุปสิเลสิกาธาร ใน นิสีทึสุ

๙. ปณฺฑิตา ติปิฏเก พุทฺธสฺส สาสนํ สิกฺขนฺติ ฯ
      ป. อ. บัณฑิต/ผู้ฉลาด ท. ย่อมศึกษา ซึ่งคำสอน ของพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎก ฯ
      ปณฺฑิตา สยกตฺตา ใน สิกฺขนฺติ ๆ อาขยาตบท กตฺตุวาจก ติปิฏเก อาธาร ใน สิกฺขนฺติ พุทฺธสฺส สามีสมฺพนฺธ ใน สาสนํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน สิกฺขนฺติ ฯ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น