วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เฉลยวิชาแปลบาลีเป็นไทย ครั้งที่ ๑




๑๒. ปฏาจาราเถรีวตฺถุ (มยา วุจฺจเต) ฯ
อ. เรื่องแห่งพระเถรีชื่อว่า ปฏาจารา อันข้าพเจ้า จะกล่าว ฯ
 

โย จ วสฺสสตํ ชีเวติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ปฏาจารํ เถรึ อารพฺภ กเถสิ.
     
อ. พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ในพระเชตวัน ทรงปรารภ ซึ่งพระเถรี ชื่อว่า ปฏาจารา ตรัสแล้ว ซึ่งพระธรรมเทศนานี้ว่า โย  จ  วสฺสสตํ  ชีเว  ดังนี้ ฯ 
สา กิร สาวตฺถิยํ จตฺตาลีสโกฏิวิภวสฺส เสฏฺฐิโน ธีตา อโหสิ อภิรูปา.
    ได้ยินว่า อ. นางปฏาจารา นั้น เป็นธิดาของเศรษฐี ผู้มีทรัพย์อันบุคคลพึงเสวยมีโกฏิ ๔๐ เป็นประมาณ เป็นผู้มีรูปงาม ได้มีแล้ว ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี ฯ

 (มาตาปิตโร) ตํ โสฬสวสฺสุทฺเทสิกกาเล สตฺตภูมิกสฺส ปาสาทสฺส อุปริมตเล รกฺขนฺตา วสาเปสุํ.
    อ. มารดาและบิดา ท. เมื่อจะรักษา ซึ่งนางปฏาจารา นั้น ยังนางปฏาจารานั้น ให้อยู่แล้ว บนพื้นในเบื้องบน แห่งปราสาท อันประกอบแล้วด้วยชั้น ๗ ในกาลแห่งตนอันบุคคลพึงแสดงขึ้นว่ามีกาลฝน ๑๖. 

(หรือแปลตัว กาลสัตตมีก่อนเลย เช่น  ในกาลแห่งตนอันบุคคลพึงแสดงขึ้นว่ามีกาลฝน ๑๖ อ. มารดาและบิดา ท. เมื่อจะรักษา ซึ่งนางปฏาจารา นั้น ยังนางปฏาจารานั้น ให้อยู่แล้ว บนพื้นในเบื้องบน แห่งปราสาท อันประกอบแล้วด้วยชั้น ๗ ฯ)

 เอวํ (อตฺเถ) สนฺเตปิ สา เอเกน อตฺตโน จูฬูปฏฺฐาเกน สทฺธึ วิปฺปฏิปชฺชิ อถสฺสา (อถ อสฺสา) มาตาปิตโร สมชาติกกุเล เอกสฺส กุมารสฺส ปฏิสฺสุณิตฺวา วิวาหทิวสํ ฐเปสุํ.
     ครั้นเมื่อเนื้อความ อย่างนั้น แม้มีอยู่ อ. นางปฏาจารา นั้น ปฏิบัติผิดแล้ว กับ ด้วยจูฬูปัฏฐาก /คนใช้ของตน คนหนึ่ง  ครั้งนั้น อ. มารดาและบิดา ท. ของนางปฏาจารา นั้น ฟังตอบแล้ว แก่กุมาร คนหนึ่ง ในตระกูลมีชาติเสมอกัน ตั้งแล้ว/กำหนดแล้ว ซึ่งวันอันเป็นที่กระทำซึ่งวิวาห์ ฯ 

ตสฺมึ อุปกฏฺเฐ สา ตํ จูฬูปฏฺฐากํ อาห “ (มาตาปิตโร) มํ กิร อสุกกุลสฺส นาม ทสฺสนฺติ มยิ ปติกุลํ คเต มม ปณฺณาการํ คเหตฺวา อาคโตปิ ตตฺถ (ปติกุเล) ปเวสนํ น ลภิสฺสสิ สเจ เต มยิ สิเนโห อตฺถิ (ตฺวํ) อิทาเนว  มํ คเหตฺวา เยน วา เตน วา ปลายสฺสู”ติ.
     ครั้นเมื่อ วันเป็นที่กระทำซึ่งวิวาห์ ปรากฏใกล้แล้ว / ใกล้เข้ามาแล้ว  อ. นางปฏาจารา นั้น กล่าวแล้ว กะ จูฬูปัฏฐาก นั้น ว่า ได้ยินว่า อ. มารดาและบิดา ท. จักให้ ซึ่ง ดิฉัน / เรา ชื่อ แก่ตระกูลโน้น ครั้นเมื่อดิฉัน ไปแล้ว สู่ตระกูลแห่งสามี อ. ท่าน ถือเอาแล้ว ซึ่งเครื่องบรรณาการ เพื่อดิฉัน แม้ไปแล้ว จักไม่ได้ ซึ่งการเข้าไป ในที่นั้น  ถ้าว่า อ. ความรัก ในดิฉัน แห่งท่าน มีอยู่ อ​. ท่าน พาเอาแล้ว ซึ่งดิฉัน จงหนีไป โดยที่ใด หรือ หรือว่า โดยที่นั้น ในกาลบัดนี้ นั่นเทียว ดังนี้ ฯ 

(หรือจะแปลบทกาลสัตตมีก่อนก็ได้ เช่น ในกาลนี้ นั่นเทียว อ​. ท่าน พาเอาแล้ว ซึ่งดิฉัน จงหนีไป โดยที่ใด หรือ หรือว่า โดยที่นั้นฯ)

       โส (จูฬูปฏฺฐาโก)  “สาธุ ภทฺเท”ติ ปฏิจฺฉิตฺวา “เตนหิ อหํ สฺเว ปาโตว นครทฺวารสฺส อสุกฏฺฐาเน นาม ฐสฺสามิ ตฺวํ เอเกน อุปาเยน นิกฺขมิตฺวา ตตฺถ อาคจฺเฉยฺยาสี”ติ วตฺวา ทุติยทิวเส สงฺเกตฏฺฐาเน อฏฺฐาสิ.
        อ. คนใช้ นั้น รับแล้วว่า แนะนางผู้เจริญ อ. ดีละ ดังนี้ กล่าวแล้วว่า ถ้าอย่างนั้น ในตอนเช้า เทียว ในวันพรุ่ง อ. เรา จักยืน ชื่อ ในที่โน้น แห่งประตูแห่งนคร  อ. เธอ ออกไปแล้ว โดยอุบาย อย่างหนึ่ง พึงมา ในที่นั้น ดังนี้ ได้ยืนแล้ว ในที่นัดหมาย ในวันที่สอง/ในวันรุ่งขึ้น ฯ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น