วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรื่องพระเถรีปฏาจารา ๓



ตสฺสา อปเรน สมเยน ปุน คพฺโภ ปติฏฺฐหิ. สา ปริปุณฺณคพฺภา หุตฺวา ปุริมนเยเนว สามิกํ ยาจิตฺวา คมนํ อลภมานา ปุตฺตํ องฺเกนาทาย ตเถว ปกฺกมิตฺวา เตน อนุพนฺธิตฺวา “ติฏฺฐาหี”ติ วุตฺเต นิวตฺติตุ น อิจฺฉิ. อถ เนสํ คจฺฉนฺตานํ มหา อกาลเมโฆ อุทปาทิ สมนฺตา วิชฺชุลตาหิ อาทิตฺตํ วิย เมฆตฺถนิเตหิ ภิชฺชมานํ วิย  อุทกธารานิปาตนิรนฺตรํ นภํ อโหสิ. ตสฺมึ ขเณ ตสฺสา กมฺมชวาตา จลึสุ. สา สามิกํ อามนฺเตตฺวา “สามิ กมฺมชวาตา เม จลิตา น สกฺโกมิ สนฺธาเรตุ อโนวสฺสกฏฺฐานํ เม ชานาหี”ติ อาห. โส หตฺถคตาย วาสิยา อิโต จิโต จ อุปธาเรนฺโต เอกสฺมึ วมฺมิกมตฺถเก ชาตํ คุมฺพํ ทิสฺวา ฉินฺทิตุ อารภิ. อถ นํ วมฺมิกโต นิกฺขมิตฺวา โฆรวิโส อาสีวิโส ฑํสิ.

สมัยอื่น ครรภ์ของนางตั้งขึ้นอีก. นางเป็นผู้มีครรภ์แก่แล้วจึงอ้อนวอนสามีโดยนัยก่อนนั่นแล เมื่อไม่ได้ความยินยอม จึงอุ้มบุตรด้วยสะเอวหลีกไปอย่างนั้นนั่นแล แม้ถูกสามีนั้นติดตามพบแล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะกลับ.
 ครั้งนั้น  เมื่อชนเหล่านั้นเดินไปอยู่, มหาเมฆอันมิใช่ฤดูกาลเกิดขึ้น. ท้องฟ้าได้มีท่อธารตกลงไม่มีระหว่าง ดังสายฟ้าฟาดแผดเผาอยู่โดยรอบ ดังจะทำลายลงด้วยเสียงแผดแห่งเมฆ. ในขณะนั้น ลมกัมมัชวาตของนางปั่นป่วนแล้ว. นางเรียกสามีมากล่าวว่า นายลมกัมมัชวาตของฉันปั่นป่วนแล้ว, ฉันไม่อาจจะทนได้, ท่านจงรู้สถานที่ฝนไม่รดฉันเถิด. สามีนั้นมีมีดอยู่ในมือ ตรวจดูข้างโน้นข้างนี้ เห็นพุ่มไม้ซึ่งเกิดอยู่บนจอมปลวกแห่งหนึ่ง เริ่มจะตัด. ลำดับนั้น อสรพิษมีพิษร้ายกาจเลื้อยออกจากจอมปลวก กัดเขา.

ตงฺขณญฺเญวสฺส สรีรํ อนฺโตสมุฏฺฐิตาหิ อคฺคิชาลาหิ ฑยฺหมานํ วิย นีลวณฺณํ หุตฺวา ตตฺเถว ปติ. อิตราปิ มหาทุกฺขํ อนุภวมานา ตสฺส อาคมนํ โอโลเกนฺตีปิ ตํ อทิสฺวาว อปรมฺปิ ปุตฺตํ วิชายิ. ทฺเว ทารกา วาตวุฏฺฐิเวคํ อสหมานา มหาวิรวํ วิรวนฺติ. สา อุโภปิ เต อุรนฺตเร กตฺวา ทฺวีหิ ชณฺณุเกหิ เจว หตฺเถหิ จ ภูมิยํ อุปฺปีเฬตฺวา ตถา ฐิตาว รตฺตึ วีตินาเมสิ.

ในขณะนั้นนั่นแล สรีระของเขามีสีเขียวดังถูกเปลวไฟอันตั้งขึ้นในภายในไหม้อยู่ ล้มลงในที่นั้นนั่นเอง. ฝ่ายภรรยานอกนี้เสวยทุกข์อย่างมหันต์ แม้มองดูทางมาของเขาอยู่ ก็มิได้เห็นเขาเลย จึงคลอดบุตรคนอื่นอีก. ทารกทั้ง ๒ ทนกำลังแห่งลมและฝนไม่ได้ ก็ร้องไห้ลั่น. นางเอาทารกแม้ทั้ง ๒ คนนั้นไว้ที่ระหว่างอุทร ยืนท้าวแผ่นดิน ด้วยเข่าและมือทั้ง ๒ ให้ราตรีล่วงไปแล้ว. 












เรื่องพระเถรีปฏาจารา ๒


[นางปฏาจาราหนีไปกับคนรับใช้]

     สาปิ ปาโตว กิลิฏฺฐํ วตฺถํ นิวาเสตฺวา เกเส วิกฺกิริตฺวา กุณฺฑเกน สรีรํ มกฺขิตฺวา กุฏํ อาทาย ทาสีหิ สทฺธึ คจฺฉนฺตี วิย ฆรา นิกฺขมิตฺวา ตํ ฐานํ อคมาสิ. โส ตํ อาทาย ทูรํ คนฺตฺวา เอกสฺมึ คาเม นิวาสํ กปฺเปตฺวา อรญฺเญ เขตฺตํ กสิตฺวา ทารุปณฺณาทีนิ อาหรติ. อิตรา กุเฏน อุทกํ อาหริตฺวา สหตฺถา โกฏฺฏนปจนาทีนิ กโรนฺตี อตฺตโน ปาปสฺส ผลํ อนุโภติ. อถสฺสา กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาสิ.
     ฝ่ายธิดาเศรษฐีนั้นนุ่งผ้าปอน ๆ สยายผม เอารำทาสรีระถือหม้อน้ำ ออกจากเรือนเหมือนเดินไปกับพวกทาสี ได้ไปยังที่นั้นแต่เช้าตรู่. ชายคนรับใช้นั้นพานางไปไกลแล้ว สำเร็จการอาศัยอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง ไถนาในป่าแล้ว ได้นำฟืนและผักเป็นต้นมา, ธิดาเศรษฐีนอกนี้เอาหม้อน้ำมาแล้ว ทำกิจมีการตำข้าวและหุงต้มเป็นต้นด้วยมือตนเอง เสวยผลแห่งความชั่วของตน. ครั้งนั้น  สัตว์เกิดในครรภ์ตั้งขึ้นในท้องของนางแล้ว.
     สา ปริปุณฺณคพฺภา “อิธ เม โกจิ อุปการโก นตฺถิ มาตาปิตโร นาม ปุตฺเตสุ มุทุหทยา โหนฺติ เตสํ สนฺติกํ มํ เนหิ ตตฺถ เม คพฺภวุฏฺฐานํ ภวิสฺสตี”ติ สามิกํ ยาจิ. โส “กึ ภทฺเท กเถสิ มํ ทิสฺวา ตว มาตาปิตโร วิวิธา กมฺมการณา กเรยฺยุ น สกฺกา มยา ตตฺถ คนฺตุ”นฺติ ปฏิกฺขิปิ. สา ปุนปฺปุนํ ยาจิตฺวาปิ คมนํ อลภมานา ตสฺส อรญฺญํ คตกาเล ปฏิวิสฺสเก อามนฺเตตฺวา “สเจ โส อาคนฺตฺวา มํ อปสฺสนฺโต ‘กหํ คตา’ติ ปุจฺฉิสฺสติ มม อตฺตโน กุลฆรํ คตภาวํ อาจิกฺเขยฺยาถา”ติ วตฺวา เคหทฺวารํ ปิทหิตฺวา ปกฺกามิ.
นางมีครรภ์แก่แล้วจึงอ้อนวอนสามีว่า ใคร ๆ ผู้อุปการะของเราไม่มีในที่นี้, ธรรมดามารดาบิดา เป็นผู้มีใจอ่อนโยนในบุตรทั้งหลาย, ท่านจงนำฉันไปยังสำนักของท่านเถิด, ฉันจักคลอดบุตรในที่นั้น. สามีนั้นคัดค้านว่า นางผู้เจริญเจ้าพูดอะไร ? มารดาบิดาเจ้าเห็นฉันแล้ว พึงทำกรรมกรณ์มีอย่างต่าง ๆ ฉันไม่อาจไปในที่นั้นได้. นางแม้อ้อนวอนแล้ว ๆ เล่า ๆเมื่อไม่ได้ความยินยอม ในเวลาที่สามีไปป่า จึงเรียกคนผู้คุ้นเคยมาสั่งว่า ถ้าเขามาไม่เห็นจักถามว่า ฉันไปไหน ? พวกท่านพึงบอกความที่ฉันไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตน ดังนี้แล้ว ก็ปิดประตูเรือนหลีกไป.
โสปิ อาคนฺตฺวา ตํ อปสฺสนฺโต ปฏิวิสฺสเก ปุจฺฉิตฺวา ตํ ปวตฺตึ สุตฺวา “นิวตฺเตสฺสามิ น”นฺติ อนุพนฺธิตฺวา ตํ ทิสฺวา นานปฺปการํ ยาจิยมาโนปิ นิวตฺเตตุ นาสกฺขิ. อถสฺสา เอกสฺมึ ฐาเน กมฺมชวาตา จลึสุ. สา เอกํ คจฺฉนฺตรํ ปวิสิตฺวา “สามิ กมฺมชวาตา เม จลิตา”ติ วตฺวา ภูมิยํ นิปชฺชิตฺวา สมฺปริวตฺตมานา กิจฺเฉน ทารกํ วิชายิตฺวา “ยสฺสตฺถายาหํ กุลฆรํ คจฺเฉยฺยํ โส อตฺโถ นิปฺผนฺโน”ติ ปุนเทว เตน สทฺธึ เคหํ อาคนฺตฺวา วาสํ กปฺเปสิ.

     ฝ่ายสามีนั้นมาแล้ว ไม่เห็นภรรยานั้นจึงถามคนคุ้นเคย ฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็ติดตามไปด้วยคิดว่า จักให้นางกลับ พบนางแล้วแม้จะอ้อนวอนมีประการต่าง ๆ ก็มิอาจให้นางกลับได้. ทีนั้น ลมกัมมัชวาตของนางปั่นป่วนแล้วในที่แห่งหนึ่ง. นาง เข้าไปในระหว่างพุ่มไม้พุ่มหนึ่ง พูดว่า นาย ลมกัมมัชวาตของฉันปั่นป่วนแล้ว นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนพื้นดิน คลอดเด็กโดยยากแล้วคิดว่า เราพึงไปสู่เรือนแห่งตระกูลเพื่อประโยชน์ใด, ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้ว จึงมาสู่เรือนกับด้วยสามี สำเร็จการอยู่กันอีกเทียว.











เรื่องพระเถรีปฏาจารา ๑


๑๒. ปฏาจาราเถรีวตฺถุ (มยา วุจฺจเต) ฯ
โย จ วสฺสสตํ ชีเวติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ปฏาจารํ เถรึ อารพฺภ กเถสิ.
     สา กิร สาวตฺถิยํ จตฺตาลีสโกฏิวิภวสฺส เสฏฺฐิโน ธีตา อโหสิ อภิรูปา.
     (มาตาปิตโร) ตํ โสฬสวสฺสุทฺเทสิกกาเล สตฺตภูมิกสฺส ปาสาทสฺส อุปริมตเล รกฺขนฺตา วสาเปสุ.
     เอวํ (อตฺเถ) สนฺเตปิ สา เอเกน อตฺตโน จูฬูปฏฺฐาเกน สทฺธึ วิปฺปฏิปชฺชิ อถสฺสา (อถ อสฺสา) มาตาปิตโร สมชาติกกุเล เอกสฺส กุมารสฺส ปฏิสฺสุณิตฺวา วิวาหทิวสํ ฐเปสุ.
     ตสฺมึ อุปกฏฺเฐ สา ตํ จูฬูปฏฺฐากํ อาห “ (มาตาปิตโร) มํ กิร อสุกกุลสฺส นาม ทสฺสนฺติ มยิ ปติกุลํ คเต มม ปณฺณาการํ คเหตฺวา อาคโตปิ ตตฺถ (ปติกุเล) ปเวสนํ น ลภิสฺสสิ สเจ เต มยิ สิเนโห อตฺถิ (ตฺวํ) อิทาเนว  มํ คเหตฺวา เยน วา เตน วา ปลายสฺสู”ติ.
     โส (จูฬูปฏฺฐาโก)  “สาธุ ภทฺเท”ติ ปฏิจฺฉิตฺวา “เตนหิ อหํ สฺเว ปาโตว นครทฺวารสฺส อสุกฏฺฐาเน นาม ฐสฺสามิ ตฺวํ เอเกน อุปาเยน นิกฺขมิตฺวา ตตฺถ อาคจฺเฉยฺยาสี”ติ วตฺวา ทุติยทิวเส สงฺเกตฏฺฐาเน อฏฺฐาสิ.
 
๑๒. เรื่องนางปฏาจารา [๙๒]
 [ข้อความเบื้องต้น]
 พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปฏาจาราเถรี ตรัสพระคาถานี้ว่า โย จ วสฺสสต ชีเว เป็นต้น.
[ความรักไม่เลือกชั้นชั้นวรรณะ]
 ดังได้สดับมา นางปฏาจารานั้นได้เป็นธิดาของเศรษฐีผู้มีสมบัติ๔๐ โกฏิในกรุงสาวัตถี มีรูปงาม. ในเวลานางมีอายุ ๑๖ ปี มารดาบิดาเมื่อจะรักษา จึงให้นางอยู่บนชั้นปราสาท ๗ ชั้น. ถึงเมื่อเป็นเช่นนั้น นางก็ยังสมคบกับคนรับใช้คนหนึ่งของตน. ครั้งนั้น มารดาบิดาของนางยกให้แก่ชายหนุ่มคนหนึ่ง ในสกุลที่มีชาติเสมอกันแล้วกำหนดวันวิวาหะ. เมื่อวันวิวาหะนั้นใกล้เข้ามา, นางจึงพูดกะคนรับใช้ผู้นั้นว่า ได้ยินว่า มารดาบิดาจักยกฉันให้แก่สกุลโน้น, ในกาลที่ฉันไปสู่สกุลผัว ท่านแม้ถือบรรณการเพื่อฉันมาแล้ว ก็จักไม่ได้เข้าไปในที่นั้น, ถ้าท่านมีความรักในฉัน, ก็จงพาฉันหนีไปโดยทางใดทางหนึ่งในบัดนี้นี่แล. คนรับใช้นั้นรับว่า ดีละ นางผู้เจริญแล้วกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นฉันจักยืนอยู่ในที่ชื่อโน้นแห่งประตูเมืองแต่เวลาเช้าตรู่พรุ่งนี้, หล่อนพึงออกไปด้วยอุบายอย่างหนึ่งแล้ว มาในที่นั้น ในวันที่ ๒ ก็ได้ยืนอยู่ในที่นัดหมายกันไว้.








เฉลยวิชาแปลบาลีเป็นไทย ครั้งที่ ๑




๑๒. ปฏาจาราเถรีวตฺถุ (มยา วุจฺจเต) ฯ
อ. เรื่องแห่งพระเถรีชื่อว่า ปฏาจารา อันข้าพเจ้า จะกล่าว ฯ
 

โย จ วสฺสสตํ ชีเวติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ปฏาจารํ เถรึ อารพฺภ กเถสิ.
     
อ. พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ในพระเชตวัน ทรงปรารภ ซึ่งพระเถรี ชื่อว่า ปฏาจารา ตรัสแล้ว ซึ่งพระธรรมเทศนานี้ว่า โย  จ  วสฺสสตํ  ชีเว  ดังนี้ ฯ 
สา กิร สาวตฺถิยํ จตฺตาลีสโกฏิวิภวสฺส เสฏฺฐิโน ธีตา อโหสิ อภิรูปา.
    ได้ยินว่า อ. นางปฏาจารา นั้น เป็นธิดาของเศรษฐี ผู้มีทรัพย์อันบุคคลพึงเสวยมีโกฏิ ๔๐ เป็นประมาณ เป็นผู้มีรูปงาม ได้มีแล้ว ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี ฯ

 (มาตาปิตโร) ตํ โสฬสวสฺสุทฺเทสิกกาเล สตฺตภูมิกสฺส ปาสาทสฺส อุปริมตเล รกฺขนฺตา วสาเปสุํ.
    อ. มารดาและบิดา ท. เมื่อจะรักษา ซึ่งนางปฏาจารา นั้น ยังนางปฏาจารานั้น ให้อยู่แล้ว บนพื้นในเบื้องบน แห่งปราสาท อันประกอบแล้วด้วยชั้น ๗ ในกาลแห่งตนอันบุคคลพึงแสดงขึ้นว่ามีกาลฝน ๑๖. 

(หรือแปลตัว กาลสัตตมีก่อนเลย เช่น  ในกาลแห่งตนอันบุคคลพึงแสดงขึ้นว่ามีกาลฝน ๑๖ อ. มารดาและบิดา ท. เมื่อจะรักษา ซึ่งนางปฏาจารา นั้น ยังนางปฏาจารานั้น ให้อยู่แล้ว บนพื้นในเบื้องบน แห่งปราสาท อันประกอบแล้วด้วยชั้น ๗ ฯ)

 เอวํ (อตฺเถ) สนฺเตปิ สา เอเกน อตฺตโน จูฬูปฏฺฐาเกน สทฺธึ วิปฺปฏิปชฺชิ อถสฺสา (อถ อสฺสา) มาตาปิตโร สมชาติกกุเล เอกสฺส กุมารสฺส ปฏิสฺสุณิตฺวา วิวาหทิวสํ ฐเปสุํ.
     ครั้นเมื่อเนื้อความ อย่างนั้น แม้มีอยู่ อ. นางปฏาจารา นั้น ปฏิบัติผิดแล้ว กับ ด้วยจูฬูปัฏฐาก /คนใช้ของตน คนหนึ่ง  ครั้งนั้น อ. มารดาและบิดา ท. ของนางปฏาจารา นั้น ฟังตอบแล้ว แก่กุมาร คนหนึ่ง ในตระกูลมีชาติเสมอกัน ตั้งแล้ว/กำหนดแล้ว ซึ่งวันอันเป็นที่กระทำซึ่งวิวาห์ ฯ 

ตสฺมึ อุปกฏฺเฐ สา ตํ จูฬูปฏฺฐากํ อาห “ (มาตาปิตโร) มํ กิร อสุกกุลสฺส นาม ทสฺสนฺติ มยิ ปติกุลํ คเต มม ปณฺณาการํ คเหตฺวา อาคโตปิ ตตฺถ (ปติกุเล) ปเวสนํ น ลภิสฺสสิ สเจ เต มยิ สิเนโห อตฺถิ (ตฺวํ) อิทาเนว  มํ คเหตฺวา เยน วา เตน วา ปลายสฺสู”ติ.
     ครั้นเมื่อ วันเป็นที่กระทำซึ่งวิวาห์ ปรากฏใกล้แล้ว / ใกล้เข้ามาแล้ว  อ. นางปฏาจารา นั้น กล่าวแล้ว กะ จูฬูปัฏฐาก นั้น ว่า ได้ยินว่า อ. มารดาและบิดา ท. จักให้ ซึ่ง ดิฉัน / เรา ชื่อ แก่ตระกูลโน้น ครั้นเมื่อดิฉัน ไปแล้ว สู่ตระกูลแห่งสามี อ. ท่าน ถือเอาแล้ว ซึ่งเครื่องบรรณาการ เพื่อดิฉัน แม้ไปแล้ว จักไม่ได้ ซึ่งการเข้าไป ในที่นั้น  ถ้าว่า อ. ความรัก ในดิฉัน แห่งท่าน มีอยู่ อ​. ท่าน พาเอาแล้ว ซึ่งดิฉัน จงหนีไป โดยที่ใด หรือ หรือว่า โดยที่นั้น ในกาลบัดนี้ นั่นเทียว ดังนี้ ฯ 

(หรือจะแปลบทกาลสัตตมีก่อนก็ได้ เช่น ในกาลนี้ นั่นเทียว อ​. ท่าน พาเอาแล้ว ซึ่งดิฉัน จงหนีไป โดยที่ใด หรือ หรือว่า โดยที่นั้นฯ)

       โส (จูฬูปฏฺฐาโก)  “สาธุ ภทฺเท”ติ ปฏิจฺฉิตฺวา “เตนหิ อหํ สฺเว ปาโตว นครทฺวารสฺส อสุกฏฺฐาเน นาม ฐสฺสามิ ตฺวํ เอเกน อุปาเยน นิกฺขมิตฺวา ตตฺถ อาคจฺเฉยฺยาสี”ติ วตฺวา ทุติยทิวเส สงฺเกตฏฺฐาเน อฏฺฐาสิ.
        อ. คนใช้ นั้น รับแล้วว่า แนะนางผู้เจริญ อ. ดีละ ดังนี้ กล่าวแล้วว่า ถ้าอย่างนั้น ในตอนเช้า เทียว ในวันพรุ่ง อ. เรา จักยืน ชื่อ ในที่โน้น แห่งประตูแห่งนคร  อ. เธอ ออกไปแล้ว โดยอุบาย อย่างหนึ่ง พึงมา ในที่นั้น ดังนี้ ได้ยืนแล้ว ในที่นัดหมาย ในวันที่สอง/ในวันรุ่งขึ้น ฯ